ด้านการสาธารณะสงเคราะห์

ด้านการสาธารณะสงเคราะห์ (Public Benefit, Public Good)


โครงการสร้างมหาธาตุเจดีย์วัดคงคาวาสสิตาราม ธาตุน้อย

  ณ วัดคงคาวาสสิตาราม ธาตุน้อย บ้านธาตุน้อย ตำบลธาตุน้อย
อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล ๗ รอบ ๘๔ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ แห่งประเทศไทย

๑. ความเป็นมา
          ๑.๑ การประชุมโครงการสร้างมหาธาตุเจดีย์ เฉลิมพระเกียรติ ณ วัดคงคาวาสสิตาราม ธาตุน้อย
          คณะสงฆ์วัดคงคาวาสสิตาราม ธาตุน้อย และพุทธศาสนิกชนชาวบ้านธาตุน้อย ซึ่งต่างมีความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ องค์เอกอัครศาสนูปภัมภก ในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่ทรงสมบูรณ์ด้วยทศพิธราชธรรม ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ อันเป็นคุณูปการอย่างไพศาล ต่อประเทศชาติ พระพุทธศาสนาและปวงชนชาวไทยตลอดถึงชาวโลกหาที่สุดมิได้  และเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองสิริราชสมบัติโดยธรรมยาวนานกว่าพระมหากษัตริยาธิราชเจ้าทุกพระองค์ในประวัติศาสตร์ชาติไทย และกว่าพระมหากษัตริย์ชาติใดๆในโลก โดยเฉพาะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์เดียว ที่ประสูติในต่างประเทศ คือที่เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา  จึงได้ประชุมปรึกษาหารือกัน  ณ วัดคงคาวาสสิตาราม ธาตุน้อย กำหนดวางศิลาฤกษ์มหาธาตุเจดีย์ เฉลิมพระเกียรติเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๔ และทำพิธีงานเจาะเสาเข็มเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๔
            ๑.๒  มติที่ประชุมคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวบ้านธาตุน้อย
            ที่ประชุมเห็นว่า ในโอกาสมหามงคลที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุยเดช มีพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔  เห็นควรจัดสร้างมหาธาตุเจดีย์ เฉลิมพระเกียรติ และศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน ไว้ในสถานที่เดียวกัน คือในวัดคงคาวาสสิตาราม (วัดธาตุน้อย)  เพื่อเป็นบุณยานุสรณียสถานสำหรับดำเนินกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา วัฒนธรรม สาธารณกุศล เป็นที่พึ่งทางจิตใจ และเป็นศูนย์รวมแห่งความรู้รักสามัคคีแห่งพุทธศาสนิกชนและสาธุชนชาวบ้านธาตุน้อยและบ้านใกล้เคียง เพื่ออำนวยประโยชน์และสันติสุขแก่ปวงชนและชาวโลก  ถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในมหามงคลสมัยดังกล่าว

๒. ตั้งชื่อเจดีย์
    ที่ประชุมคณะกรรมการก่อตั้งโครงการฯนี้ มีมติตั้งชื่อองค์กรการกุศลแห่งนี้ ว่า “มหาธาตุเจดีย์ เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”

๓. วัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการสร้าง มหาธาตุเจดีย์ เฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา
            ๓.๑. เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
            ๓.๒. เพื่อเป็นศูนย์การเผยแผ่หลักธรรม และฝึกอบรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในพระพุทธศาสนา
            ๓.๓. เพื่อส่งเสริมเผยแผ่ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยอันดีงาม
          ๓.๔.เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของมวลพุทธศาสนิกชน ในการประกอบกุศลกิจคุณงามความดี อันเป็นประโยชน์ เพื่อสันติสุขและสันติภาพ ต่อสังคม ต่อปวงชนและชาวโลก
          ๓.๕. เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของวัด หมู่บ้าน โรงเรียน ที่ชือว่า วัดธาตุน้อย บ้านธาตุน้อย โรงเรียนธาตุน้อย และเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงอาจริยบูชา คือ พระครูบวรศีลพรต (สิงห์ ธนวุฑฺโฒ นามสกุล ฉลาดแย้ม)
          ๓.๖.เพื่อสร้างเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
          ๓.๗.เพื่อแสดงออกซึ่งความจงรักภักดี ต่อสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ในฐานะ วัด บ้าน โรงเรียน ชุมชนหมู่บ้านธาตุน้อยก็เป็นพสกนิกรส่วนหนึ่งของประเทศ
          ๓.๘.เพื่อทำเป็นบุณยานุสรณียสถานที่ให้เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม เรียนธรรม สอนธรรม สำหรับภิษุสามเณร ประชาชน ตลอดทั้งอบรมธรรมแก่ นิสิต นักเรียน นักศึกษา เป็นต้น 

๔. นโยบายในการกำหนดระยะเวลาดำเนินการ
            ๔.๑ ระยะที่ ใช้เวลา ปี เริ่มแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๕๔-๒๕๕๘
ก.      ในการเตรียมการรวมศรัทธารวบรวมปัจจัย เพื่อสร้างมหาธาตุเจดีย์ การคัดเลือกบุคลากรที่เหมาะสม มาเป็นกรรมการอำนวยการ กรรมการบริหาร กรรมการเจ้าหน้าที่ และกรรมการอุปถัมภ์ที่ปรึกษาหารือฝ่ายวิศวกร การช่าง ตลอดถึงบริษัทที่จะมาดำเนินการก่อสร้าง
ข.       วิศวกรเขียนแบบแพลนมหาธาตุเจดีย์ คือ น.อ.วิวัฒน์ชัย ปรางพิทักษ์ การจัดหาบริษัทมาสำรวจคุณสมบัติของดิน คือ บริษัท เอส ที เอส อินสตรูเม้นท์ จำกัด โดย คุณสังวร ศรีสุวอ เป็น Inspector และ บริษัทเจาะเข็ม คือ บริษัท รัชดาแฟบริคเฮ้าท์ แอนกรุ๊ป จำกัด ผู้รับจ้างทำงานเจาะเสาเข็มมหาธาตุเจดีย์ โดยมีคุณบุปผา พลอยศรี เป็นกรรมการผู้จัดการ

          ๔.๒ ระยะที่ ใช้เวลา ปี นับแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๕๙-๒๕๖๔
          ก.   ในการปฏิบัติศาสนกิจ การก่อสร้างและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทุกด้าน ต่อเนื่องจากโครงการที่
ในการปฏิบัติศาสนกิจและกิจกรรมต่างๆ ทุกด้าน ต่อเนื่องจนกว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์
๕. การดำเนินการตามวัตถุประสงค์และนโยบายต่อเนื่องในปี พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๘
          ๕.๑ นำเรื่องเสนอและได้รับความเห็นชอบจาก พระเดชพระคุณพระพรหมวชิรญาณ เจ้าอาวาสวัดยานนาวา กรรมการมหาเถรสมาคม ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๐ ประธานอำนวยการโครงการสร้างวัดนวมินทรราชูทิศ สหรัฐอเมริกา
          ๕.๒ นำเรื่องเสนอและได้รับความเห็นชอบจาก พระสิริพัฒนาภรณ์ เจ้าคณะอำเภอเขื่องใน อดีตประธานสงฆ์วัดธาตุน้อย และนายอำเภอเขื่องใน นายประกิต ตันติวาลา
          ๕.๓ กราบเรียนอาราธนาและได้รับเมตตาจาก พระพรหมวชิรญาณ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาส  วัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร ประธานกรรมการอำนวยการวัดธัมมาราม นครชิคาโกและประธานกรรมการอำนวยการโครงการสร้างวัดนวิมนทรราชูทิศ เฉลิมพระเกียรติ รับเป็นประธานวางศิลาฤกษ์มหาธาตุเจดีย์ เฉลิมพระเกียรติ แต่เนื่องจากพระเดชพระคุณฯ มีภาระกิจมากมาย จึงอนุมัติให้ พระเดชพระคุณพระเทพวิสุทธิโมลี รองเจ้าคณะภาค ๑๐ มาปฏิบัติศาสนกิจแทน
         

๖. การดำเนินการการก่อสร้างมหาธาตุเจดีย์ และเสนอเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ
          ๖.๑  ในปี พ.ศ.๒๕๕๔ ที่ประชุมคณะกรรมการมีมติให้ดำเนินการก่อสร้างได้เลย โดย พระภาวนาวชิรวิเทศ วิ. (มงคล มงฺคโล) ประธานกรรมการโครงการฯ, พระครูโสภณอาภากร, พระครูปริยัติเจติยาภรณ์ และ พระอธิการด้วง ธมฺมวโร ได้นำชาวบ้านธาตุน้อยและบ้านใกล้เคียงทำพิธีวางศิลาฤกษ์ในวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๔
          ๖.๒ นับตั้งแต่ได้วางศิลาฤกษ์แล้วก็ระดมทุนทำผ้าป่าสามัคคีตามเทศกาลงานประเพณีต่างเพื่อสะสมทุนร่วมก่อสร้างมหาธาตุเจดีย์ เฉลิมพระเกียรติ
          ๖.๓ เมื่อโครงการฯ ได้มีเป้าหมายที่แน่นอนแล้วก็เริ่มประสานงาน ติดต่อ บริษัทต่าง ทำสัญญาการก่อสร้างทันที เพื่อมาดำเนินการ โดย วิศวกรเขียนแบบแพลนมหาธาตุเจดีย์ คือ น.อ.วิวัฒน์ชัย ปรางพิทักษ์ การจัดหาบริษัทมาสำรวจคุณสมบัติของดิน คือ บริษัท เอส ที เอส อินสตรูเม้นท์ จำกัด โดย คุณสังวร ศรีสุวอ เป็น Inspector และ บริษัทเจาะเข็ม คือ บริษัท รัชดาแฟบริคเฮ้าท์ แอนกรุ๊ป จำกัด ผู้รับจ้างทำงานปักผังเจาะเสาเข็มมหาธาตุเจดีย์ โดยมีคุณบุปผา พลอยศรี เป็นกรรมการผู้จัดการ
๗. ผู้รับผิดชอบโครงการ
               ๗.๑  วัดคงคาวาสสิตาราม (วัดธาตุน้อย)
                 ๗.๒. ศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน วัดคงคาวาสสิตาราม (วัดธาตุน้อย)  
             ๗.๓. ชาวบ้านธาตุน้อย โรงเรียนบ้านธาตุน้อย อบต.ธาตุน้อย และโรงพยาบาลเสริมสุขภาพตำบลธาตุน้อย
             ๗.๔  มูลนิธิพระครูบวรศีลพรต
             ๗.๕  จากสถาบันอื่นๆ ในประเทศไทย
             ๗.๖ ประชาชนและพุทธศาสนิกชนทั่วไป ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

๘. สถาบันที่มีส่วนร่วมบำเพ็ญกุศลหรือให้ความสนับสนุนอุปถัมภ์
             ๘.๑.  คณะสงฆ์จังหวัดอุบลราชธานี
    ๘.๒  คณะสงฆ์วัดนวมินทรราชูทิศ แห่งนครเคมบริดจ์-บอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
    ๘.๓  สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
     ๘.๔  กรมการศาสนา และกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
    ๘.๕  พุทธบริษัทผู้มีจิตศรัทธาทั้งมวล
    ๘.๖  มหาเถรสมาคมแห่งคณะสงฆ์ไทย
     ๘.๗ รัฐบาลไทย (ถ้ามี) ผู้แทนในองค์กรต่างๆ
    ๘.๘ สมาคมเพื่อนช่วยเพื่อน เป็นองค์กรอิสระ

๙. ที่มาของงบประมาณ
             ๙.๑.   จากการรับบริจาคจากพุทธบริษัทในชุมชนหมู่บ้านธาตุน้อย ทุกวันที่ ๑๓ มกราคม ทุกๆ ปี
               ๙.๒.   จากการจัดกิจกรรมการกุศลของวัดหรือที่ที่วัดคงคาวาสสิตารามอนุญาตให้จัด
               ๙.๓.   จากการสนับสนุนของพ่อค้าประชาชน และองค์กรการกุศลต่างๆ ในประเทศไทย
             ๙.๔.   จากการสนับสนุนจากพ่อค้าประชาชน องค์กรการกุศลต่างๆ ในเทศสหรัฐอเมริกาและจากนานาชาติ
             ๙.๕   จากการสนับสนุนอุปถัมภ์ของรัฐบาลไทย
๑๐. งบประมาณเบื้องต้น
            ๑๐.๑  งบประมาณขั้นที่  ๑ จำนวน    ๑,๕๐๐,๐๐๐   บาท   เพื่อจัดตั้งกองทุนก่อสร้างมหาธาตุเจดีย์
               ๑๐.๒  งบประมาณขั้นที่ ๒ จำนวน   ๒,๐๐๐,๐๐๐   บาท   เพื่อเตรียมงาน การสำรวจที่ และออกแบบ
            ๑๐.๓  งบประมาณขั้นที่  ๓ จำนวน   ๕,๐๐๐,๐๐๐    บาท  เพื่อดำเนินการก่อสร้างมหาธาตุเจดีย์
           ๑๐.๔ งบประมาณขั้นที่ ๔ จำนวน ๑,๕๐๐,๐๐๐  บาท เพื่อกองทุนนิธิบำรุงพัฒนาวัดและมหาธาตุเจดีย์
          งบประมาณการรายจ่ายให้กับ บริษัท รัชดาแฟบริคเฮ้า แอนกรุ๊ป จำกัด ขณะนี้
๑.      งานเข็มงานปักผัง              จำนวน ๕๗๗,๐๐๐ บาท
-งานปักผัง ๑ งาน             จำนวน ๑๐,๐๐๐   บาท
-เสาเข็มเจาะ 40 ซ.ม. ความลึก 15 เมตร 42 ต้น
ราคาต้นละ๑๓,๕๐๐ บาท เป็นเงินจำวน ๕๖๗,๐๐๐ บาท
๒.     ค่าดำเนินการ ๑๒%           จำนวน ๖๙,๒๔๐   บาท
๓.     รวมเป็นเงินทั้งสิ้น              จำนวน ๖๔๖,๒๔๐ บาท
(หกแสนสี่หมื่นหกพันสองร้อยสี่สิบบาทถ้วน)
๔.     งบประมาณรายการจ่ายค่าก่อสร้างมหาธาตุเจดีย์ขณะนี้ ประมาณ ๑๐ กว่าล้านบาทไปแล้ว

๑๑. แต่งตั้งคณะกรรมการทำงานการก่อสร้างมหาธาตุเจดีย์
            เพื่อประโยชน์แก่โครงการสร้างมหาธาตุเจดี ปี พ.ศ.๒๕๕๔  พระภาวนาวชิรวิเทศ วิ. (มงคล มงฺคโล)ประธานกรรมการโครงการฯ และที่ปรึกษา ได้ขอความเมตตานุเคราะค์ต่อพระเถรานุเถระรับเป็นประธานที่ปรึกษา และแต่งตั้งคณะกรรมการมหาธาตุเจดีย์  ขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย 
            -

ที่ปรึกษา
                    พระพรหมวชิรญาณ      กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดยานนาวา
                                                กรุงเทพมหานคร ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๐
                                      ประธานอำนวยการโครงการก่อสร้างวัดนวมินทรราชูทิศ สหรัฐอเมริกา
                   พระเทพวิสุทธิโมลี        รองเจ้าคณะภาค ๑๐ เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาสวรวิหาร
                   พระสิริพัฒนาภรณ์                 อดีจเจ้าคณะอำเภอเขื่องใน เจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมือง
                   พระรัตนวิมล                        เจ้าคณะอำเภอเขื่องใน เจ้าอาวาสวัดยางน้อย
                   พระครูขันตยาธิคุณ       อดีตเจ้าอาวาสวัดแสงน้อยที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลนาคำใหญ่
                   พระครูสุนทรพัฒนากร             อดีจเจ้าคณะตำบลธาตุน้อย เจ้าอาวาสวัดแดงหม้อ
                   พระครูวิสุทธิกัลยาณคุณ          เจ้าคณะตำบลธาตุน้อย เจ้าอาวาสวัดคำไฮ
                    พระปลัดประยูร กุสโล    อดีจเจ้าอาวาสวัดดินดำ
                   พระครูศรีวชิรวงศ์                  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร
                   พระมหาทนงศักดิ์ นีลสุขุมาโล    วัดสร้อยทอง

ประธานกรรมการดำเนินการ
                    พระภาวนาวชิรวเทศ วิ. (มงคล มงฺคโล) ประธานกรรมการโครงการก่อสร้างมหาธาตุเจดีย์
                                                วัดคงคาวาสสิตาราม
                    พระครูโสภณอากร          เจ้าอาวาสวัดบ้านแขม เจ้าคณะตำบลก่อเอ้ เขต ๒ เป็นรองประธาน
                    พระครูปริยัติเจติยาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดคงคาวาสสิตาราม ธาตุน้อย เป็นรองประธานฯ
                    พระมหายุนัส กตปุญฺโญ    เป็นกรรมการและเลขานุการ
                    พระนพพร มหาวัโร         เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

คณะทำงานพิธีการ
          ๑.พระครูปริยัติเจติยาภรณ์                     เจ้าอาวาสวัดคงคาวาสสิตาราม ธาตุน้อย
          ๒.พระอธิการด้วง ธมฺมวโร                           วัดต้นไทร
          ๓.พระครูวิสุทธิกัลยาณคุณ                          วัดคำไฮ
          ๔.พระปลัดประยูร กุสโล                             วัดดินดำ
          ๕.พระมหาธีรวงษ์ ญาณสุธีโร                        วัดนวมินทรราชูทิศ สหรัฐอเมริกา
          ๖.พระมหาชินวัชร ชินญาโณ                          วัดนวมินทรราชูทิศ สหรัฐอเมริกา
          ๗.พระมหายุนัส กตปุญฺโญ                           วัดคงคาวาสสิตาราม ธาตุน้อย

คณะกรรมการฝ่ายศาสนพิธี
          พระอธิการด้วง ธมฺมวโร                              พระครูวิสุทธิกัลยาณคุณ
          พระครูมานิตบุญสาร                                  พระปลัดประยูร กุสโล  
          พระครูโสภณอากร                                    พระมหาธีรวงษ์ ญาณสุธีโร
          พระสมุห์คำตัน จนฺทสโร                              พระมหายุนัส กตปุญฺโญ

คณะทำงาน ฝ่ายฆราวาส
                    นายน้อย จันทร์สมัย                                   กรรมการ
                    นายทา ชมภูโกฐ                                       กรรมการ
                    นายถาวร สารรักษ์                                    กรรมการ
                    นายเพ็ชร สารรักษ์                                    กรรมการ
                    นายถวิล เทพแพง                                     กรรมการ
                    นายสุพจน์ ประสานคำ                                 กรรมการ
                    นายเตียง จันทร์เติบ                                   กรรมการ
                    นายบัวสอน ผลอบรม                                 กรรมการ
                    นายสุวิทย์ จันทร์สมัย                                 กรรมการ
                    นางหนูรักษ์ จันทร์สมัย                                กรรมการ
                    นายสมพงษ์ หาวะโคตร                               กรรมการ
                    นายเฉลิมชัย สิงห์วิชัย                                กรรมการ
                    นายช้าง ฝากาทอง                                     กรรมการ
                    นายไพบูลย์ จันทร์เติบ                                 กรรมการ
                    นายบุญมา ฝากาทอง                                 กรรมการ
                    นายเลิศ จันทร์เติบ                                    กรรมการ
                    นายถวิล สารรักษ์                                     กรรมการ
                    นายพรหมา ฉลาดแย้ม                                กรรมการ
                    นายบุญตา บุญเพ็ง                                    กรรมการ
                    นายผิน สะตาพา                                       กรรมการ
                    นายสินธุ์ บุญเพ็ง                                      กรรมการ
                    นายสำราญ จันทร์เติม                                 กรรมการและเหรัญญิก
                    นายทวีศีล ชมภูโกฐ                                   กรรมการและเลขานุการ
                   นายอนุเทพ พิมพ์โคตร                                ทนายและที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
          ๑๒.  การออกแบบและดำเนินการก่อสร้างมหาธาตเจดีย์
        และศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน เฉลิมพระเกียรติฯ
          ด้วยวัดคงคาวาสสิตาราม ธาตุน้อย จะมีโครงการก่อสร้างมหาธาตุเจดีย์โดยจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างอย่างต่ำประมาณ ๑๐ ล้านบาท จำนวน ๒ ชั้น จึงขอเชิญสาธุชนร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคีในครั้งนี้ตามกำลังศรัทธา ท่านที่ไม่มีปัจจัยวันนี้ไม่เป็นไร โอกาสหน้าถ้าพร้อมจึงร่วมบริจาคก็ได้ ขอเพียงแต่ท่านยกมืออนุโมทนาก็ได้บุญแล้ว การสร้างมหาธาตุเจดีย์ครั้งนี้เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปที่มีอายุมากกว่า ๒๕๐ ปี คือ พระพุทธเมตตาล้านโกฏิ ประดิษฐานไว้ข้างในเพื่อสักการะบูชาเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธ และทำเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานของชุมชนและพุทธบริษัททั่วไป
      จึงขอเรียนเชิญสาธุชนมากราบนมัสการพระพุทธเมตตาล้านโกฏิซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มีอายุมากกว่า ๒๕๐ ปี เพื่อเป็นสิริมงคล ร่วมเป็นเจ้าภาพถวายผ้าป่าสามัคคี และร่วมสร้างมหาธาตุเจดีย์   ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลก จงดลบันดาลให้ท่านและครอบครัวจงประสบแต่ความสุข ความเจริญ ด้วยจตุพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณธนสารสมบัติตลอดกาล เทอญฯ
             ๑๒.๑คณะกรรมการฯได้ดำเนินการได้กำหนดพื้นรอบบริเวณอุโบสถเก่าสำหรับก่อสร้างอาคารมหาธาตุเจดีย์ เฉลิมพระเกียรติ และศูนย์วิปัสสนากรรมฐาน 
             ส่วนที่เหลือริมฝั่งตลิ่งจากทิศตะวันตกไปถึงทิศตะวันออกประมาณ ๒๐๐ เมตร จะรักษาทัศนียภาพธรรมชาติเดิมไว้ก่อน และจะทำตลิ่งเพื่อให้เป็นวิวที่สวยงามหาต้นไม้มาปลูกให้ร่มรื่นในอนาคตต่อไป
             ๑๒.๒  จัดหาบริษัท ซึ่งเป็นบริษัทที่มีใบอนุญาตและมีชื่อเสียง มาดำเนินการสำรวจและเจาะพื้นที่ ที่จะทำการก่อสร้างมหาธาตุเจดีย์ ผลการสำรวจปรากฏว่า เป็นพื้นที่ที่สามารถจะทำการก่อสร้างมหาธาตุเจดีย์ได้ สิ้นค่าใช้จ่ายในการสำรวจและงานปักผังเสาเข็มเจาะในเบื้องต้น  ประมาณเจ็ดแสนบาทถ้วน
          ๑๒.๓   วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๔ พระครูวินัยธรมงคล มงฺคโล พระครูวิสุทธิกัลยาณคุณ พระครูโสภณอาภากร และ พระมหาทองใบ กตปุญฺโญ ได้นำพาชาวบ้านธาตุน้อยทำพิธีปักผัง เสาเข็มเจาะ จำนวน ๔๒ ต้น รวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน ๖๔๖,๒๔๐ บาท (หกแสนสี่หมื่นหกพันสองร้อยสี่สิบบาทถ้วน)
          ๑๒.๔   พระครูวินัยธรมงคล มงฺคโล และคณะกรรมการฯได้จัดหา บริษัท รัชดาแฟบริคเฮ้า แอนกรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่มีใบอนุญาตและมีชื่อเสียงมาเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างมหาธาตุเจดีย์  และจัดวิศวกรและสถาปนิกออกแบบมหาธาตุเจดีย์นี้ คือ น.อ.วิวัฒน์ชัย ปรางพิทักษ์ ผู้มีความชำนาญในการออกแบบอาคารมหาธาตุเจดีย์ ให้อาคารมีลักษณะพุทธศิลปที่เหมาะสมกับเป็นวัดในพระพุทธศาสนา สอดคล้องกับสภาพดินฟ้าอากาศที่สามารถตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคงริ่มฝั่งแม่น้ำชี โดยให้บริษัทเป็นผู้ดำเนินการประสานความเห็นชอบจากชาวท้องถิ่นในการสร้างมหาธาตุเจดีย์
             ๑๒.๕   คณะกรรมการฯได้พิจารณางบประมาณการก่อสร้างมหาธาตุเจดีย์ทั้งโครงการ ตามที่วิศวกรและสถาปนิกได้ออกแบบความเหมาะสม และตามความนโยบายของคณะกรรมการฯ  ซึ่งต้องใช้งบประมาณก่อสร้างรวมต่างๆ ๒ ชั้น เป็นเงินจำนวน ๑๐ ล้านบาทถ้วน
            ๑๒.๖   จะจัดหาเจ้าภาพผู้มีจิตศรัทธา มาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๑๐ ปี  ขณะไม่มีเจ้าภาพก็ต้องใช้แรงศรัทธาชาวบ้านร่วมกันบริจาคทำเป็นต้นผ้าป่าแต่ละปีแต่ละโอกาสไปเรื่อยๆ ดังเช่นเคยบำเพ็ญกันมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังเช่น ทำต้นผ้าป่าเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ งานวันสงกรานต์ซึ่งเป็นปีใหม่ไทย งานประเพณีเดือนหกคือบุญบั้งไฟ-งานบุญบวช บุญกฐิน เป็นต้น ซึ่งเทศกาลต่างๆเหล่านี้ คือวิถีทางมาแห่งทุนในเบื้องต้นที่เราชาวบ้านธาตุน้อยจะได้ช่วยกันบำเพ็ญบุญอันเป็นกุศล
            ๑๒.๗ ต้นปีเมื่อวันที่ ๑๑-๑๒-๑๓-๑๔-๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๔ วัดคงคาวาสสิตาราม (วัดธาตุน้อย)จัดการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ บวชเนกขัมมะจำนวน ๑,๐๘๔ คน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ แห่งประเทศไทย เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล ๗ รอบ ๘๔ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ พิธีวางศิลาฤกษ์มหาธาตุเจดีย์ และ จัดงานรำลึก ๑๐๕ พระครูบวรศีลพรต อดีตเจ้าอาวาสวัดคงคาวาสสิตาราม (วัดธาตุน้อย
            ๑๒.๘  คณะกรรมการฯ ได้คัดเลือกบริษัทที่มีใบอนุญาตและมีชื่อเสียงเพื่อการก่อสร้างโครงการมหาธาตุเจดีย์ คือ บริษัท รัชดาแฟบริคเฮ้า แอนกรุ๊ป จำกัด พร้อมกำหนดวันประกอบพิธี ปฐมฤกษ์ปักผังเจาะดิน เสาเข็มเจาะ ๔๐ ซ.ม. ความลึก ๑๕ เมตร ๔๒ ต้น  เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๔  โดยคณะกรรมการฯ ได้นิมนต์ พระครูโสภณอาภากร พระครูวิสุทธิกัลยาณคุณ และพระมหาทองใบ กตปุญฺโญ รอง ประธานโครงการฯ เป็นประธานฝ่ายบรรพชิต พร้อมด้วยพระเถระจากวัดต่างๆ ในอำเภอเขื่องในจำนวน ๓๐ รูป อุบาสก-อุบาสิกา นุ่งขาว ห่มขาว เข้าร่วมพิธีอันศักดิ์นี้ เป็นจำนวน ๑๐๐ คน พิธีการในวันนั้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นเหตุเบื้องต้นให้การดำเนินการโครงการก่อสร้างมหาธาตุเจดีย์รวดเร็วขึ้นทันเวลาที่กำหนดไว้
          ๑๒.๙ คณะกรรมการฯ ได้จัดงาน บวรเศีลพรตถรานุสรณ์ ขึ้น ในวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นปีที่สองในการระดมทุนเพื่อการก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ ก็ได้ปัจจัยในการก่อสร้างประมาณ ๑ ล้านกว่าบาท และได้เปิดบัญชี ทุนสร้างพระมหาธาตุเจดีย์วัดธาตุน้อย ธนาคารออมสิน ประเภทเผื่อเรียก(Saving Deposit) สาขา 0260 สาขาเขื่องใน เลขบัญชี 0-2005856502-7
            ๑๒.๑๐ คณะกรรมการฯ ได้จัดงาน พระมหาธาตุเจดีย์ศรีธาตุน้อย  ขึ้น ในวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นปีที่ ๗ ในการระดมทุนเพื่อการก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ มีการจัดงานกันอย่างยิ่งใหญ่ ประชาชน พ่อค้า บริษัท ห้างร้าน เจ้าของกิจการร้านอาหาร สมาคม ชมรมต่างๆ มีความสามัคคีกันเป็นหนึ่งเดียวได้ร่วมกันบริจาคจตุปัจจัยเพื่อสมทบทุนสร้างพระมหาธาตุเจดีย์วัดธาตุน้อย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๐ กว่าล้านบาทไปแล้ว


๑๓. ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯนี้
            ๑๓. ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวบ้านธาตุน้อย มีความภูมิใจในการสร้างสรรค์จิตวิญญาณชาวพุทธ ที่รักความสงบเยือกเย็น รู้รักสามัคคี และมีสัญลักษณ์ที่เป็นพระมหาธาตุเจดีย์อันพร้องกับชื่อวัด บ้าน โรงเรียน เพื่อเป็นมรดกธรรมแด่ลูกหลานและเยาวชนในอนาคตต่อไป
          ๑๓.๒. ทำให้พระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาแห่งเหตุผลแห่งปัญญาแห่งเมตตาอภัย แห่งความรู้รักสามัคคี เพื่อสันติภาพและสันติสุข ได้รับการยอมรับจากปวงชนชาวพุทธและชาวโลก และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประสิทธิผลได้
๑๓.๓ ทำให้พุทธศาสนิกชน เกิดจิตสำนึกความรู้รักสามัคคี และความกตัญญูกตเวที ต่อชาติ พระพุทธศาสนา มีความจงรักภักดีและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย
๑๓.๔.ทำให้อนุชนเชื้อสายไทยมีความผูกพันกับถิ่นกำเนิดและเชื้อชาติพระพุทธศาสนาตลอดถึงศักดิ์ศรีแห่งความเป็นไทย
๑๓.๕ ทำให้อนุชนเชื้อสายไทยรู้หลักการในการดำเนินชีวิตตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา
๑๓.๖ ทำให้พุทธศาสนิกชนมีเจดีย์เป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นที่ยึดเหนี่ยวศรัทธาสัมมาปฏิบัติ อีกสถานหนึ่ง
๑๓.๗ ทำให้เกิดการส่งเสริมศีลธรรมคุณธรรมจริยธรรมศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียม และประเพณีไทยอันดีงาม ต่ออนุชนเชื้อสายไทยของถิ่น ตลอดถึงนานาชาติ ให้เกิดความรู้รักสามัคคีมีสมานฉันท์ต่อกัน เพื่อเกิดสันติสุขและสันติภาพโลก อย่างยั่งยืน
๑๓.๘ ทำให้พุทธบริษัททุกฝ่ายได้สร้างศาสนสัมพันธ์อันดีต่อกัน อันจะนำสังคมและชาวโลกสู่สันติสุขและสันติภาพ ในโลกต่อไป


๑๔. การดำเนินโครงการ
๑๔.๑ โครงการฯ ได้มีการดำริจะสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๓
๑๔.๒ โครงการฯ ได้เริ่มวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔
๑๔.๓ โครงการฯ ได้เริ่มการก่อสร้าง เมื่อวันที่ ๑๙-๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
๑๔.๔ โครงการฯ หวังว่าจะสร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๖๓
๑๔.๕ โครงการฯ ปัจจุบันได้รับบริจาคแล้วในการจัดงานสองปีที่ผ่านมาประมาณ ๑๐ ล้านบาท ได้ใช้ปัจจัยในการดำเนินงานไปแล้ว ๑๐ กว่าล้านบาทในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน มีการสำรวจที่ดินเจาะเสาเข็ม และองค์เจดีย์ เป็นต้น
๑๔.๖ โครงการฯ จะใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ ๒๐ ล้านบาท


อานิสงส์ในการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์
๑. เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาทมัวในชีวิต
๒. เป็นที่รักของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย
๓. เมื่อใกล้หมดสติไม่หลงลืม เป็นผู้มีสติทุกเมื่อ
๔. ได้เกิดในภพภูมิที่เหมาะสม
๕. ไปบังเกิดในสุคติภูมิแน่นอน
๖. ได้สร้างมหากุศลสูงสุด



(พระภาวนาวชิรวิเทศ วิ. )

ทำหน้าที่ต่อกัน
พระสงฆ์กับคฤหัสถ์ หรือพระกับชาวบ้าน เมื่อทั้งสองฝ่ายทำหน้าที่ต่อกัน แบบพึ่งพาอาศัยกัน (อัญโญญญนิสิต) สังคมทั้งหมดก็จะเกษมศานติ์ความสุข
ก.    พระสงฆ์ให้ธรรมทาน คือฝึกตนในไตรสิกขา และเผยแผ่สั่งสอนธรรมให้ประโยชน์เกิดขึ้น โดยไม่เรียกร้องรบกวนใคร ตามคติของพระพุทธเจ้าที่ว่า ปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขของมหาชน, นำประชาชนให้เป็นผู้มีกัลยาณธรรม มีกุศลธรรม
ข.    คฤหัสถ์ถวายอามิสทาน คือแสดงศรัทธาและจัดสรรเครื่องอุดหนุนทางวัตถุ ให้พระสงฆ์ปฏิบัติกิจหน้าที่โดยไม่ต้องพะวักพะวงห่วงกังวลความเป็นอยู่ด้วยปัจจัย

พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

No comments:

Post a Comment